Enterprise Architecture


Enterprise Architecture  (สถาปัตยกรรมขององค์กร) คืออะไร EA คือแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายทางธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรซึ่งช่วยแก้ปัญหาขององค์กร 2 เรื่องหลักๆคือ เรื่องความซับซ้อนของระบบและทำให้ทราบปัญหาของธุรกิจ ซึ่งมักเข้าใจผิดว่า EA เป็นงานของ IT ซึ่งในความเป็นจริง  EA ต้องใช้ความร่วมมือและทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ปฎิบัติงาน รวมถึงลูกค้า

ความเกี่ยวข้องระหว่าง Business กับ IT Alignment 
แผนกลยุทธ์ของธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ของ IT ต้องมีความสอดคล้องกัน ซึ่งแผนกลยุทธ์ ได้แก่
  •      Mission & Vision
  •      Goal and CSFs
  •      Objectives
  •      Strategy
  •      Metrics
 การวางแผน EA ของ Business กับ IT ต้องสอดคล้องกัน ได้แก่
  •      Business Process
  •      Information
  •      People
  •      Location
  •      Business Initiatives
 การวางแผน Implementation ของ Business กับ IT ต้องสอดคล้องกัน ได้แก่
  •      Business Portfolio
  •      Annual Business Plan
  •      Project Plan

Enterprise Architectur Domain
  1. Business Architecture เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ , กลยุทธ์เชิงธุรกิจ , โครงสร้างองค์กร , กระบวนการทางธุรกิจ , Function งาน
  2.  Data Architecture เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางธุรกิจ , ข้อมูลสำหรับประมวลผล
  3.  Application Architecture เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมเชิงระบบ , ซอฟต์แวร์ , แอพพลิเคชั่น
  4.  Technology Architecture เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์,ระบบเครือข่าย , ระบบคลาวด์ , ระบบเซิร์ฟเวอร์

 


รูปประกอบ Enterprise Architecture Domain




Enterprise Architecture FRAMEWORK 

 คือ กรอบแนวคิดและคำแนะนำเพื่อกำหนดและพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรให้เกิด ประสิทธิภาพ การเชื่องโยงและความสอดคล้องในทุกโมเดลตั้งแต่โมเดลระดับธุรกิจ ข้อมูล แอพพลิเคชั่น และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และเพื่อให้เกิดพัฒนาองค์กรอย่างนั่งยืน และตรงตามเป้าหมายขององค์กร

ทำ EA แล้วได้อะไร ?

ประโยช์นจากการทำ EA จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานในระยะยาวได้ ช่วยให้เกิดการลงทุนที่คุ้มค่า เมื่อมีโครงการใหม่ ๆ ก็สามารถพิจารณาจากแผน EA เพื่อให้ได้ Solution Architecture ที่เหมาะสมตาม Architecture ที่วางไว้ง่ายขึ้น Framework ในการทำ EA นิยมใช้ 2 แบบคือ  TOGAF และ Zachman Framework

TOGAF FRAMEWORK

TOGAF (THE OPEN GROUP ARCHITECTURE FRAMEWORK) เกิดจากกลุ่มองค์กรเกิดการแบ่งปันข้อมูลและ ค่ามาตรฐานต่างๆ ทางสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใหผลิตภัณฑ์ด้านอิเลกทรอนิกสหรือคอมพิวเตอรมีสถาปัตยกรรมในทางเดียวกัน เพื่อประโยชนในการใช้งานและเหมาะแก่การพัฒนาต่อยอด โดยขบวนการของ TOGAF จะเป็นขบวนการทำซ้ำ  (ITERATIVE PROCESS) ที่พัฒนาขึ้นมาจากประสบการณ์และตัวอย่างที่สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาใชังานต่อได้ ซึ่ง TOGAF จะมีแกนสถาปัตยกรรมหลัก ๆ 4 แกนคือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ togaf


1. กรอบแนวทางที่เน้นประโยชน์,ทิศทางขององค์กร (BUSINESS ARCHITECTURE) ,กรอบทิศทางเชิงนโยบายประโยชน์และวิสัยทัศน์ รวมทั้งการวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางของขั้นตอนธุรกรรม

2. กรอบแนวทางด้านมาตรฐานข้อมูล ( DATA ARCHITECTURE) อธิบายเกี่ยวกับกลุ่มของข้อมูล ,โครงสร้างข้อมูล ,ลักษณะข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้การใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานเกิดขึ้นได้ และส่งเสริมการใช้ข้อมูลที่มีรูปแบบแตกต่างกันให้มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบงาน

3. กรอบแนวทางธุรกรรมหรือระบบงาน (APPLICATION ARCHITECTURE) ที่อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบงานที่ให้บริการ และการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบงานที่ องค์กรหริอกลุ่มงานต้องรับผิดชอบ และแสดงถึงบริการ หรือระบบย่อยต่างๆ

4. กรอบแนวทางด้านเทคโนโลยี (TECHNOLOGY ARCHITECTURE) อธิบายโครงสร้างพื้นฐาน เช่น คุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ขาย ระบบ เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย อุปกรณประกอบอื่นๆ และรวมไปถึงซอฟต์แวร์พื้นฐานต่างๆ ที่จะ ช่วยสนับสนุนให้เกิดกรอบแนวทางการพัฒนา


ZACHMAN FRAMEWORK

แนวคิดการรวบรวมเรียบเรียงและจัดให้เป็นระบบ (ORGANIZE) ของส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร การออกแบบองค์กร ออกแบบระบบสารสนเทศ ออกแบบระบบฐานข้อมูล รูปแบบแสดงขั้นตอน การทำงาน ตลอดจนรูปแบบแสดงความสัมพันธ์ของระบบคอมพิวเตอร์กับโครงสรางพื้นฐานไอซีทีอื่นๆ ใน รูปของตารางสองมิติ ประกอบด้วยแกนตั้ง (COLUMNS) แสดงเรื่องเนื้อหาของสถาปัตยกรรมขององคกร (ASPECTS) 6 เรื่อง และแกนนอน (ROWS) แสดงระดับรายละเอียดหรือความลึกของเนื้อหาในแต่ละ เรื่อง (PERSPECTIVES) 6 ระดับ รวมเป็น 36 เรื่องประกอบด้วย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ZACHMAN FRAMEWORK


1.   ส่วนที่เป็นเนื้อหาเชิงสถาปัตยกรรม (ASPECTS) ประกอบด้วย

1.1. DATA ส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องใช้ในระหว่างการทำธุรกรรม (WHAT)

1.2. FUNCTION ส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการทำงาน ขั้นตอนและกระบวนการทำงานของธุรกิจ (HOW)

1.3. NETWORK ตำแหน่งที่ตั้งของส่วนงานและสำนักงานต่าง ๆ ขององค์กร (WHERE)

1.4. PEOPLE ส่วนต่าง ๆ ตามโครงสรางขององคกร (WHO)

1.5. TIME ส่วนที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ EVENTS สำคัญที่มีผลต่อการทำงาน การบริการลูกค้า (WHEN)

1.6. MOTIVATION ส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตรและเป้าหมายขององคกร์ที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (WHY)

2.   ส่วนที่เป็นระดับรายละเอียดหรือความลึกของการนำเสนอ (PERSPECTIVE) ซึ่งเนื้อหาและรายละเอียดจะ ขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใช้ข้อมูล (STAKEHOLDER) แบ่งเป็น 6 ระดับ ประกอบด้วย

2.1. EXECUTIVE PERSPECTIVE (BUSINESS CONTEXTUAL PLANNER) สถาปัตยกรรมองคกรภาพใหญ่ เป็นภาพรวม ผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ใช้ข้อมูล

2.2. BUSINESS MANAGEMENT PERSPECTIVE (BUSINESS CONCEPT, OWNER, ENTERPRISE MODEL) การมอง สถาปตยกรรมองคกรในเชิงมโนภาพ (CONCEPT) เจ้าของโครงการ เจ้าของหน่วยงานต้องการรู้เพียง ความสามารถของระบบงาน ความรับผิดชอบ ความสัมพันธกับระบบงาน

2.3. ARCHITECT PERSPECTIVE (SYSTEM MODEL, DESIGNER, BUSINESS LOGICAL) การแสดงการออกแบบใน รายละเอียด หรือ LOGICAL DESIGN มุมมองของนักออกแบบระบบ ที่จะนำไปสู่การสร้างระบบที่ทำงานจริงได้

2.4.  ENGINEER PERSPECTIVE (TECHNOLOGY MODEL, BUILDER, PHYSICAL) เน้นการออกแบบในเชิง วิศวกรรม มสถาปัตยกรรมของระบบที่นำไปสู่การสร้างและติดตั้งระบบคอมพิวเตอรและเครือข่ายรวมทั้งการติดตั้งระบบซอฟตแวร์

2.5. TECHNICIAN PERSPECTIVE (DETAILED REPRESENTATIONS, SUB-CONTRACTORS, IMPLEMENTER) ต้องมี รายละเอียดระดับชิ้นส่วนของระบบงาน เช่น อุปกรณฮารดแวรในระดับ FUNCTION/FEATURE และ ส่วนเชื่อมต่อประสานงาน หรือชิ้นส่วนซอฟตแวร์ (SOFTWARE COMPONENTS)

2.6. ENTERPRISE PERSPECTIVE (THE FUNCTIONAL ENTERPRISE, USERS) บรรยายการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการ ทำงาน รายละเอียดข้อมูลของงานแต่ละขั้นตอน รวมทั้งผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ และปัญหาที่จะเกิด





ความคิดเห็น