IT FIVE FORCE MODEL

FIVE FORCE MODEL หากพูดถึงโมเดลทางธุรกิจ FIVE FORCE MODEL เป็นโมเดลหนึ่งที่มีสำคัญและมีประโยชน์มาก โมเดลนี้นิยมใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจก่อนที่จะเข้าไปลงทุน เพื่อการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนและสร้างความแข็งแกร่งในการลงทุนให้มากขึ้น โดยส่วนมากจะใช้การวิเคราะห์ SWOT ร่วมด้วย และในการดำเนินงานธุรกิจ IT เราก็สามารถใช้โมเดลนี้เข้ามาช่วยได้เช่นกัน 

FIVE FORCE MODEL ถูกคิดค้นขึ้นโดย Michael Eugene Porter ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ โดยมีปัจจัยที่สำคัญ 5 ด้านที่ใช้วิเคราะห์ดังนี้ค่ะ




                                     ทีีมา : https://en.wikipedia.org/wiki/Porter's_five_forces_analysis


 1. วิเคราะห์คู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน (Competitive Rivalry) เป็นหัวข้อที่ควรนำมาวิเคราะห์อย่างแรก เพราะจะผลวิเคราะห์จะทำให้เราเห็นถึงโอกาสหรือจุดด้อยมากหรือเสียเปรียบทางการแข่งขันมากก็ไม่ควรที่จะลงทุนในธุรกิจนั้น สิ่งที่่ควรวิเคราะห์ เช่น จำนวนคู่แข่งในสินค้าหรือบริการเดียวกันทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ลงทุน ซึ่งควรดูว่าคู่แข่งขันมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน หรือผู้แข่งขันรายใหญ่ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่จำนวนเท่าไหร่ ? มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ที่จะสามารถเข้าไปครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดนั้นด้วย และมีการแข่งขันในธุรกิจรุนแรงมากน้อยแค่ไหน การเจริญเติบโตของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะนั้นหมายถึงผลกำไรที่จะได้จากการลงทุน


2. วิเคราะห์อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Buyer Power) การวิเคราะห์ในปัจจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ลูกค้าของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ว่าใครจะใช้สินค้าหรือบริการของเรา ?ลักษณะของลูกค้าเป็นผู้ใช้เฉพาะ หรือเป็นองค์กร ? โดยเฉพาะธุรกิจ IT ที่มีการพัฒนาตามเทคโนโลยีในข้อนี้ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาให้ดี หากวิเคราะห์แล้วว่ามีจำนวนลูกค้ามากพอที่สามารถลงทุนได้ สิ่งต่อไปที่ต้องวิเคราะห์ต่อจากข้อแรกคือจำนวนคู่แข่งหากมีมาก ลูกค้าก็สามารถมีอำนาจต่อรองสูง คำถามต่อไปคือลูกค้าจะซื้อของเราหรือไม่ ? ดังนั้นก็ควรมองย้อนกลับมาที่สินค้าหรือบริการที่ต้องการนำมาลงทุน ว่ามีจุดเด่น หรือคุณลักษณะและความแตกต่างพิเศษเหนือคู่แข่งขันอย่างไร และนำจุดเด่นออกมาเพื่อใช้ในการเสนอขาย แต่หากสามารถสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับคู่แข่งในตลาดเดียวกันได้ ก็จะเป็นโอกาสที่สามารถสร้างข้อตกลงเพื่อทำสัญญากำหนดราคากลางให้กับสินค้าหรือบริการได้ เพื่อป้องกันการต่อรองจากลูกค้า  

3. การวิเคราะห์อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต (Supplier Power ) การวิเคราะห์ในปัจจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ผู้ผลิตวัตถุดิบให้กับเรา ข้อนี้ควรต้องพิจารณาผู้ผลิตวัตถุดิบทั้งภายในและภายนอกประเทศ จำนวนผู้ผลิตหากมีจำนวนมากโอกาสต่อรองของธุรกิจจะสูงขึ้นทันที แต่ถ้ามีน้อยการต่อรองจะต่ำลงและโอกาสที่การผลิตจะหยุดชะงักจะมีเพิ่มขึ้น โดยควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงของผู้ผลิต คุณภาพ ราคา อำนาจการต่อรอง ข้อสัญญา การจัดส่ง และการรับประกัน โดยเฉพาะสิทธ์ในการใช้งานและอายุการใช้เมื่อซื้อ license software หรือซื้อ Hardware นั้นไปแล้ว ในการนำไปประยุกต์ใช้ ในข้อนี้จึงควรสำรองผู้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพไว้อย่างน้อย 2 รายขึ้นในแต่การรายการ  

4. การวิเคราะห์การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entry) การวิเคราะห์ในปัจจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ความยากหรือง่าย ในการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการรายใหม่ โดยหากการประกอบธุรกิจ ทำได้ง่าย ใช้การลงทุนต่ำ สามารถเรียนรู้การประกอบธุรกิจได้ง่าย หรือมีการสนับสนุนนโยบายจากภาครัฐ ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างแน่นอน แต่หากเรามีจุดเด่นดังเช่นที่ได้กล่าวไว้ในการวิเคราะห์ในข้อ 2 และมีการพัฒนาสินค้าหรือบริการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์(CRM)เป็นอย่างดี ก็สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ได้  

5. การวิเคราะห์สินค้าและบริการอื่นทดแทน (Threat of Substitute) การวิเคราะห์ปัจจัยสุดท้ายนี้เป็นการวิเคราะห์สินค้าและบริการอื่นทดแทน เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมทั้งสินค้าหรือบริการในธุรกิจเดียวกันและสินค้าอื่น ๆ เป็นการวิเคราะห์รอบด้านถึงความเสี่ยงในปัจจุบันและอนาคตของการใช้สินค้าทดแทน นั้นเพราะสินค้าหรือบริการ IT มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่อาจมีการใช้สินค้าทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็น Software หรือ Hardware นั่นเพราะเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา ดังเช่นสินค้าจำพวกอุปกรณ์สำรองข้อมูลหลาย ๆ ชนิดที่กำลังค่อย ๆ หายไปจากตลาด เช่น แผ่น CD หรือ โปรแกรมหรือ website ที่พัฒนาจาก outsource ข้อสำคัญในข้อนี้คือจุดเด่นหรือคุณลักษณะที่ดี หรือการพัฒนาของสินค้าอย่างต่อเนื่องที่ต้องนำมาเสนอ เพื่อป้องกันจุดดับจากการใช้สินค้าทดแทน

ความคิดเห็น